ความเป็นมาของวิชาดวงจีนเจี่ยโหงวเฮ้ง คัมภีร์ดวงจีนฉบับโบราณ และ ดั้งเดิม ถูกคิดค้นขึ้นโดยโซยซือแซ่สุ่ง ซึ่งเป็นหลานรุ่นที่ 5 ของกษัตริย์สุ่งตี่ ในสมัยราชวงศ์ 5 กษัตริย์ หรือที่เรียกว่า "ราชวงศ์โหงวตี่" ซึ่งเป็นราชวงศ์แรกๆ ของประเทศจีน ซึ่งมีมาก่อนราชวงศ์แห่ ราชวงศ์ซาง ราชวงศ์โจว (โจว ตะวันออก โจว ตะวันตก) ก่อน ค.ศ. ประมาณ 2000 ปี และ วิชาเจี่ยโหงวเฮ้งนี้ ได้ถูกใช้ในราชสำนักจีนมาโดยตลอด โดยมิได้มีการเผยแพร่แก่สามัญชนเลย
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่น จึงมีการเผยแพร่ออกมาสู่สาธารณชน และ เป็นที่นิยม เนื่องจาก มีความแม่นยำในการทำนายมาเรื่อยๆ ศาสตร์วิชาดวงจีนเจี่ยโหงวเฮ้งจึงเจริญรุ่งเรืองมาก ในสมัยของกษัตริย์ถังเกาจง ราชวงศ์ถัง ต่อมา วิชาดวงจีนเจี่ยโหงเฮ้งนี่เอง ได้รับการรับรองโดยประกาศในพระราชโองการของกษัตรหลี่ลงจี หรือ ทรงพระนามว่า ฮ่องเต้เหี่ยงจง ตรงกับปี ค.ศ. 712 หรือปี 壬子 (หยิ่มจื้อ) ให้วิชาดวงจีนเจี่ยโหงวเฮ้ง เป็น 1 ในวิชาชั้นสูง 10 แขนง ซึ่งใช้ในราชสำนักเรียกกันว่า "จับเก็งไต่หวบ" ซึ่งใน 10 แขนงวิชาชั้นสูงที่ถูกใช้ในราชสำนักจีนในขณะนั้น ได้แก่ ต่อมาในรัชสมัยฮ่องเต้คังซี ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ 4 ในราชวงศ์เชง (แมนจู) ได้มีพระราชโองการให้มีการรวบรวมภูมิปัญญาโบราณ และ คัมภีร์โบราณ ประวัติศาสตร์จีนทั้งหมด เข้าสู่หอคัมภีร์ของราชสำนักราชวงศ์เชง ในขณะนั้นเอง ปราชญ์ของราชวงศ์เหม็ง (ราชวงศ์เหม็งถูกราชวงศ์เชงยึดอำนาจ) ซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาคัมภีร์ดวงจีนเจี่ยโหงวเฮ้ง เล็งเห็นว่า หากปล่อยให้ทางการยึดเอาคัมภีร์ดวงจีนเจี่ยโหงวเฮ้งไปได้ ภูมิปัญญาของแผนดินจีนโบราณจะตกไปอยู่กับชนเผ่าแมนจู (ราชวงศ์เชงถือว่า เป็นชนเผ่าหนึ่งในแผ่นดินจีน เรียกว่า ชนเผ่าแมนจู หรือ อ้ายซินเจวี๋ยโหล แต่ราชวงศ์เหม็ง ถือว่า สืบทอดสายเลือดมาจากราชวงศ์ฮั่น) และ หากแมนจูสามารถรวบรวมเอาไปได้ อาจทำให้วิชาโบราณถูกนำออกนอกบรรพบุรุษดั้งเดิม จึงได้คัดลอก และ แก้ไขดัดแปลงคัมภีร์ดวงจีนเจี่ยโหงวเฮ้งออกจากกัน ซึ่งแยกออกเป็นคัมภีร์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) ทิเต่งช่วยหวบ 2) จื้อเพ้งหวบ 3) เคี่ยงธงป๋อก่ำหวบ 4) เสี่ยงชิงหวบ 5) กวงเม้งหวบ 6) อู่ฮกหวบ และเก็บซ่อนคัมภีร์ดั้งเดิมเอาไว้ จากนั้นจึงส่งคัมภีร์ต่างๆ ซึ่งถูกแยกออกจากกัน และ ส่งให้แก่ราชสำนักของราชวงศ์เชงส่วนหนี่ง ในสมัยต่อมา การศึกษาระบบทำนาย ซึ่งก็คือ วิชาดวงจีน ก็มีความคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยน ขาดความแม่นยำ ตามสัดส่วนของคัมภีร์นั้นๆ ที่ถูกแบ่งแยกออกจากคัมภีร์เจี่ยโหงวเฮ้งจนมาถึงปัจจุบัน
การดัดแปลงคัมภีร์นั้น ได้มีการนำเอากลวิชาเข้าไปรวมในคัมภีร์ต่างๆ เนื่องจาก มีเจตนาต้องการให้ผู้ศึกษาเกิดความสับสน เช่น มีการนำเอาปฏิกริยาจับซิ้ง อันได้แก่ ปีเกย เกียบไช้ ฯลฯ และ ซิ้งสัวะ เช่น เทียงเต๊ก อวยเต๊ก ฯลฯ เข้าไปรวมในคัมภีร์ทั้ง 6 ส่วน จากนั้น ก็ลบวิธีการพิจารณาพื้นดวงแบบอิม เอี้ยง เอี้ยงในอิม อิมในเอี้ยง การอ่านรูปดวงแบบพิเศษ การพิจารณาวัยจรต่างๆ และ หลักการอีกหลายอย่างถูกถอดออกไป เพื่อมิให้ผู้ได้คัมภีร์ทั้ง 6 เล่ม สามารถเข้าถึงเคล็ดวิชาดวงจีนเจี่ยโหงวเฮ้ง นอกจาก ผู้ใดจะเป็นผู้ที่สืบทอดสายวิชาดวงจีนเจี่ยโหงวเฮ้ง ที่ตกทอดลงมาจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น
สำหรับในประเทศไทย มีการนำเอาคัมภีร์มาแปล และ เขียนออกมาอย่างกว้างขวางกันอยู่ 3 เล่ม ด้วยกัน อันได้แก่ ทิเต่งช่วยหวบ จื้อเพ้งหวบ เคี่ยงธงป๋อก่ำหวบ ซึ่งการแปลหนังสือดังกล่าวอยู่ในรูปแบบหนังสือดวงจีน ซึ่งมีวางขายตามห้างสรรพสินค้า จะพบว่า มีการใช้ปฏิกริยาจับซิ้ง และ ซิ้งสัวะด้วย (ในวิชาเจี่ยโหงวเฮ้งไม่มีการพิจารณาจับซิ้ง ซิ้งสัวะ) และ ลักษณะการเขียนก็วกไปวนมา ผู้ศึกษาจึงไม่สามารถเข้าถึงการอ่านรูปดวงได้อย่างแท้จริง ซึ่งแม้จะนำเอาคัมภีร์ทั้ง 6 เล่ม มาแปลรวมกัน ก็ไม่สามารถเข้าถึงหลักวิชาดวงจีนเจี่ยโหงวเฮ้งชั้นสูงได้ เนื่องจาก เนื้อความสำคัญอันเป็นเคล็ดวิชาถูกถอดออกไป และ มีการนำเอากลวิชาเข้ามาผสมนั่นเอง
|