จันทร์, 23 ธันวาคม 2024
Home ประเทศจีนโดยสังเขป


ภาพนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ Sages Academy ห้ามมิให้ผู้ใด นำไปทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือ เผยแพร่ โดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Sages Academy ผู้ละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย






ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 3.2



ตัวอย่างที่ 2


วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เวลา 07.30 น. นำเอา ปี เดือน วัน เวลา ที่เราต้องการพิจารณานั้น ไปกรอกในโปรแกรมตั้งดวงจีน จะได้ผลลัพธ์ดังนี้


เวลา
วัน
เดือน
ปี
โบ่วซิ้ง
กี้บี่
ซิงบี่
กี้ทิ่ว


เมื่อได้ผลลัพธ์จากการตั้งโปรแกรมแล้ว จึงนำเอา หลักปี หลักเดือน หลักวัน และ หลักเวลา ที่ได้จากการตั้งโปรแกรมเทียบตาราง 60 กะจื้อ เทียบข่วย ดังต่อไปนี้


เวลา
วัน
เดือน
ปี



1. ความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน


จากรูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 2 เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน หลักวัน คือ 1



ฉะนั้น ในรูปฤกษ์นี้ เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องได้ตามกฏ คือ ต้องสัมพันธ์ส่งมาให้ "หลักวัน"

[1] กฏฮะจั๊บ (ภาคี 10)
เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 1 กับ เลข 9
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา เป็นเลข 9

[2] กฏฮะโหงว (ภาคี 5)
เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 1 กับ เลข 4
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี

[3] กฏฮะจั๊บโหงว (ภาคี 15)
ไม่ต้องพิจารณา เพราะหลักวันของรูปฤกษ์ ไม่สามารถภาคี 15 ได้ [ภาคี 15 เกิดจากการรวมตัวของ เลข 6 กับ เลข 9 หรือ เลข 7 กับ เลข 8]

[4] กฏแซเซ้ง (เกิดสำเร็จ)
เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 1 กับ เลข 6
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี

[5] กฏพลังขี่ใสสะอาด (เหมือนกัน)
เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็นเลข 1
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี

[6] กฏของธาตุพิฆาตเข้าหลักวัน หรือ ก่อเกิดเข้าหลักวัน
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักวันเป็น 1 คือ ธาตุน้ำ ธาตุก่อเกิดเข้า คือ 4 และ 9 ซึ่งเป็นธาตุทอง ส่วนธาตุพิฆาตเข้าไม่มี เราจะพบว่า หลักปี หลักเดือน และ หลักยาม เป็นเลข 9 ธาตุทอง ก่อเกิดเข้าหลักวันซึ่งเป็น 1 คือ ธาตุน้ำ ดังนั้น องค์ประกอบของฤกษ์นี้ครบถ้วน


ข้อสรุป จากรูปฤกษ์ดังกล่าว จะพบว่า เข้าตามกฏฮะจั๊บ คือ หลักวันเป็น 1 หลักปี หลักเดือน และ หลักยาม คือ 9 เข้ามารวมเป็น 10 กับหลักวัน ถือว่าเข้าตามกฏ ส่วนตามหลักการธาตุ หลักวัน 1 ธาตุน้ำ ส่วนหลักปี หลักเดือน และ หลักยาม เป็น 9 ธาตุทอง เข้ามาก่อเกิดหลักวัน 1 ธาตุน้ำ จึงถือว่า รูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 2 ใช้ได้ ตามหลักการของวิชาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ที่มีการสอนทั่วโลก และในประเทศไทย (แต่ถ้าตามกฏวิชาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ของซำง้วน ข้าพเจ้าถือว่า ฤกษ์ยามนี้ใช้ไม่ได้)



อธิบายเพิ่มเติม



จากรูปฤกษ์ดังกล่าว ตามกฏของรูปฤกษ์ในวิชาฮวงจุ้ยระบบ 5 ธาตุ ถือว่าฤกษ์ชงกัน ฉะนั้น ในระบบวิชาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ที่มีการสอนทั่วโลก และ ในประเทศไทย หากพบว่า มีการชงกันในรูปฤกษ์จะมีหลักการพิจารณาข่วยครอบครัวสายเลือกเดียวกันดังได้อธิบายมาแล้ว ในบทความตอนที่ 2.1


อธิบายการชงของราศีล่าง


จื้อ
ชง=ปะทะ
โง่ว
ทิ่ว
บี่
อิ๊ง
ซิม
เบ้า
อิ้ว
ซิ้ง
สุก
จี๋
ไห



อธิบายเพิ่มเติมหลักการสุ่งจื้อเก็ก เง็กจื้อเก็ก (หลักการข่วยครอบครัวสายเลือดเดียวกัน)


สุ่งจื้อเก็ก ข่วยที่มาจากข่วยพ่อ-แม่ ที่มีเลขกำกับยุค คือ ยุค 1 [วิธีการจดจำข่วยพ่อ-แม่ คือ ข่วยสามเส้นบน และ ข่วยสามเส้นล่าง มีลักษณะเหมือนกัน] รายละเอียดแสดงในตารางข้างล่างนี้

พ่อ-แม่
สมาชิก
สุ่งจื้อเก็ก ข่วยที่มาจากข่วยพ่อ-แม่ ที่มีเลขกำกับยุค คือ ยุค 1 [วิธีการจดจำข่วยพ่อ-แม่ คือ ข่วยสามเส้นบน และ ข่วยสามเส้นล่าง มีลักษณะเหมือนกัน]
甲子
[กะจื้อ]
甲子
[กะจื้อ]
壬申
[หยิ่มซิม]
戊戌
[โบ่วสุก]
丁亥
[เต็งไห]
辛亥
[ซิงไห]
癸亥
[กุ่ยไห]
甲午
[กะโง่ว]
甲午
[กะโง่ว]
壬寅
[หยิ่มอิ๊ง]
戊辰
[โบ่วซิ้ง]
丁巳
[เต็งจี๋]
辛巳
[ซิงจี๋]
癸巳
[กุ่ยจี๋]
丙辰
[เปี้ยซิ้ง]
癸未
[กุ่ยบี่]
丁丑
[เต็งทิ่ว]
癸巳
[กุ่ยจี๋]
己卯
[กี้เบ้า]
癸卯
[กุ่ยเบ้า]
戊辰
[โบ่วซิ้ง]
丙戌
[เปี้ยสุก]
癸丑
[กุ่ยทิ่ว]
丁未
[เต็งบี่]
癸亥
[กุ่ยไห]
己酉
[กี้อิ้ว]
癸酉
[กุ่ยอิ้ว]
戊戌
[โบ่วสุก]
壬午
[หยิ่มโง่ว]
丁巳
[เต็งจี๋]
癸酉
[กุ่ยอิ้ว]
戊申
[โบ่วซิม]
甲午
[กะโง่ว]
丁未
[เต็งบี่]
乙未
[อิกบี่]
壬子
[หยิ่มจื้อ]
丁亥
[เต็งไห]
癸卯
[กุ่ยเบ้า]
戊寅
[โบ่วอิ๊ง]
甲子
[กะจื้อ]
丁丑
[เต็งทิ่ว]
乙丑
[อิกทิ่ว]
庚寅
[แกอิ๊ง]
己酉
[กี้อิ้ว]
辛巳
[ซิงจี๋]
乙丑
[อิกทิ่ว]
癸丑
[กุ่ยทิ่ว]
壬寅
[หยิ่มอิ๊ง]
戊寅
[โบ่วอิ๊ง]
庚申
[แกซิม]
己卯
[กี้เบ้า]
辛亥
[ซิงไห]
乙未
[อิกบี่]
癸未
[กุ่ยบี่]
壬申
[หยิ่มซิม]
戊申
[โบ่วซิม]
 

เง็กจื้อเก็ก ข่วยที่มาจากข่วยพ่อ-แม่ ที่มีเลขกำกับยุค คือ ยุค 9 [วิธีการจดจำข่วยพ่อ-แม่ คือ ข่วยสามเส้นบน และ ข่วยสามเส้นล่าง มีลักษณะตรงกันข้ามกัน] รายละเอียดแสดงในตารางข้างล่างนี้


พ่อ-แม่
สมาชิก
เง็กจื้อเก็ก ข่วยที่มาจากข่วยพ่อ-แม่ ที่มีเลขกำกับยุค คือ ยุค 9 [วิธีการจดจำข่วยพ่อ-แม่ คือ ข่วยสามเส้นบน และ ข่วยสามเส้นล่าง มีลักษณะตรงกันข้ามกัน]
庚辰
[แกซิ้ง]
己未
[กี้บี่]
辛丑
[ซิงทิ่ว]
乙卯
[อิกเบ้า]
己巳
[กี้จี๋]
乙巳
[อิกจี๋]
壬辰
[หยิ่มซิ้ง]
庚戌
[แกสุก]
己丑
[กี้ทิ่ว]
辛未
[ซิงบี่]
乙酉
[อิกอิ้ว]
己亥
[กี้ไห]
乙亥
[อิกไห]
壬戌
[หยิ่มสุก]
丁酉
[เต็งอิ้ว]
庚寅
[แกอิ๊ง]
丙午
[เปี้ยโง่ว]
壬戌
[หยิ่มสุก]
甲戌
[กะสุก]
辛酉
[ซิงอิ้ว]
乙酉
[อิกอิ้ว]
丁卯
[เต็งเบ้า]
庚申
[แกซิม]
丙子
[เปี้ยจื้อ]
壬辰
[หยิ่มซิ้ง]
甲辰
[กะซิ้ง]
辛卯
[ซิงเบ้า]
乙卯
[อิกเบ้า]
庚子
[แกจื้อ]
己亥
[กี้ไห]
辛卯
[ซิงเบ้า]
丙寅
[เปี้ยอิ๊ง]
己丑
[กี้ทิ่ว]
丙子
[เปี้ยจื้อ]
戊子
[โบ่วจื้อ]
庚午
[แกโง่ว]
己巳
[กี้จี๋]
辛酉
[ซิงอิ้ว]
丙申
[เปี้ยซิม]
己未
[กี้บี่]
丙午
[เปี้ยโง่ว]
戊午
[โบ่วโง่ว]
甲申
[กะซิม]
甲辰
[กะซิ้ง]
乙亥
[อิกไห]
戊午
[โบ่วโง่ว]
庚申
[แกซิม]
辛未
[ซิงบี่]
丙申
[เปี้ยซิม]
甲寅
[กะอิ๊ง]
甲戌
[กะสุก]
乙巳
[อิกจี๋]
戊子
[โบ่วจื้อ]
庚寅
[แกอิ๊ง]
辛丑
[ซิงทิ่ว]
丙寅
[เปี้ยอิ๊ง]


การอธิบายวิธีการหาสมาชิกครอบครัวสายเลือดเดียวกันของข่วย จากครอบครัวใหญ่ ของทั้งข่วยยุค 9 (เง็กจื้อเก็ก) และ ข่วยยุค 1 (สุ่งจื้อเก็ก) มีไว้เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์ ในกรณีที่รูปฤกษ์มีการชงกัน (หลักที่อยู่ติดกันชงกัน) ก่อนการแปลงเป็นข่วย ต้องนำเอากฏ หลักการสุ่งจื้อเก็ก และ เง็กจื้อเก็ก มาพิจารณาว่า เมื่อแปลงรูปฤกษ์ดังกล่าวเป็นข่วยแล้ว หลักที่ชงกันนั้น อยู่ในสมาชิกครอบครัวเดียวกันหรือไม่ หากอยู่ในสมาชิกเดียวกัน ถือว่ารูปฤกษ์ดังกล่าวใช้ได้ หลักวิชาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ที่มีสอนกันทั่วโลก และ ในประเทศไทย เขาสอนกันอย่างนี้ ให้รู้ไว้ ส่วนตัวข้าพเจ้าเอง เรียนวิชาซำง้วนมา ไม่เคยปรากฏหลักการประหลาดอย่างนี้ แต่ต้องนำมาอธิบายแก่ผู้สนใจใคร่รู้ให้ได้ศึกษา


ที่นี้มาพูดถึงเรื่องรูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 2 กันต่อ การพิจารณาหาความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์ โดยพิจารณาจากเลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน รูปฤกษ์ดังกล่าว จะเข้าตามกฏฮะจั๊บ และ เป็นไปตามกฏของธาตุ คือ มีธาตุก่อเกิดเข้าในหลักวันของรูปฤกษ์ข่วย แต่รูปฤกษ์ดังกล่าวมีการชง (ปะทะ) ในหลักที่ติดกันในรูปฤกษ์ จึงต้องนำเอาหลักการสุ่งจื้อเก็ก และ เง็กจื้อเก็ก มาพิจารณา คือ หลักการของข่วยสมาชิกครอบครัวเดียวกัน หาก 60 กะจื้อแทนข่วย ในหลักที่ติดกันนั้น มีการชง (ปะทะ) เกิดขึ้น ต้องย้อนกลับมาดูว่า 60 กะจื้อแทนข่วย ในหลักที่ติดกันนั้น อยู่ในครอบครัวเดียวกันหรือไม่ หากอยู่ในหลักครอบครัวเดียวกัน ถือว่ารูปฤกษ์นั้นใช้ได้


จากรูปฤกษ์ตัวอย่างที่ 2




เนื่องจาก รูปฤกษ์มีการชง (ปะทะ) ของ หลักปี [] กับ หลักเดือน [] จึงต้องนำเอาหลักการสุ่งจื้อเก็ก และ เง็กจื้อเก็ก มาพิจารณา จะพบว่า 60 กะจื้อแทนข่วย ในหลักที่ติดกันนั้น มีการชงเกิดขึ้น อยู่ในครอบครัวเดียวกัน สรุปว่า ฤกษ์ดังกล่าวนี้ เข้าตามกฏ จึงถือว่าใช้ได้



2. ความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง



จากรูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 2 เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง หลักวัน คือ 2

 
ฉะนั้น ในรูปฤกษ์นี้ เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องได้ตามกฏ คือ ต้องสัมพันธ์ส่งมาให้ "หลักวัน"
  • รูปฤกษ์หลักปี หลักเดือน หลักยาม (เวลา) ต้องสัมพันธ์ส่งมาให้ "หลักวัน"
  • ในรูปฤกษ์ต้องภาคี 5/10/15 กับหลักวัน
  • ภาคีเกิดสำเร็จ/ฮะแซเซ้ง กับหลักวัน
  • ต้องเหมือนกับหลักวัน
  • ต้องเข้าตามกฏของภาคียุคอุ่งเชียงธง คือ 1/3  2/4  6/8  7/9

[1] กฏฮะจั๊บ (ภาคี 10)
เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2 กับ เลข 8
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี

[2] กฏฮะโหงว (ภาคี 5)
เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2 กับ เลข 3
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักเดือน เป็นเลข 3

[3] กฏฮะจั๊บโหงว (ภาคี 15)
ไม่ต้องพิจารณา เพราะหลักวันของรูปฤกษ์ ไม่สามารถภาคี 15 ได้ [ภาคี 15 เกิดจากการรวมตัวของ เลข 6 กับ เลข 9 หรือ เลข 7 กับ เลข 8]

[4] กฏแซเซ้ง (เกิดสำเร็จ)
เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2 กับ เลข 7
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี

[5] กฏพลังยุคใสสะอาด (เหมือนกัน)
เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักปี เป็นเลข 2

[6] กฏภาคีอุ่งเชียงธง
เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2 กับ เลข 4
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี


ข้อสรุป รูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 2 ไม่พบการภาคีที่เข้าตามกฏดังกล่าวครบถ้วนทุกองค์ประกอบ

จากตัวอย่างที่ 2 นี้ จะพบว่า เราสามารถหาฤกษ์ยามได้ตามกฏความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน แต่ความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่างไม่เข้าตามกฏ



สิ่งที่ผู้สนใจควรทราบ คือ

  • กฏความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน เป็นฤกษ์ที่ส่งผลเร็ว แต่ส่งผลในระยะเวลาอันสั้น
  • กฏความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง เป็นฤกษ์ที่ส่งผลช้า แต่ส่งผลเป็นระยะเวลานาน
 
***จะเลือกใช้แบบใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ***



หมายเหตุ Sages เผยแพร่บทความนี้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2552 เวลา 18.45 น. สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติปี 2537 ห้ามมิให้นำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความดังกล่าว ไปดัดแปลง แก้ไข หรือ ทำซ้ำ เพื่อนำไปใช้สอน หรือ เผยแพร่ ในทางพาณิชย์ โดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Sages Academy และ มีตราประทับเท่านั้น



อ่านบทความคุยกับซินแสทั้งหมด >>> คลิ๊กที่นี่

 

บทความยอดนิยม Popular Articles

บทความล่าสุด Latest Articles

เรื่องน่าสนใจ Sages Recommend



กรณีที่ท่านมีปัญหาในการเข้าชมเว็บนี้ อันเนื่องมาจากเวอร์ชั่นของ Internet Explorer (IE) ของท่านเป็นเวอร์ชั่น 6 หรือต่ำกว่า ดังนั้นเพื่อให้เข้าชมเว็บให้ได้อย่างมีอรรถรส กรุณาอัพเดทเวอร์ชั่นของ Internet Explorer (IE) เป็นเวอร์ชั่น 7 ก่อน สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

หรือทำการติดตั้ง Firefox สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

 

Your are currently browsing this site with Internet Explorer 6 (IE6).

Your current web browser must be updated to version 7 of Internet Explorer (IE7) to take advantage of all of template's capabilities. Download IE7