|
|
บทนำ
การวิเคราะห์ดวงชะตาเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งในหลักอภิปรัชญาจีนโบราณ ซึ่งมีความหลากหลาย และ แพร่กระจายอยู่ทุกๆ ประเทศที่สนใจศาสตร์โบราณของจีน แต่ที่จะเลือกกล่าวถึงก็คือ วิชาดวงจีนระบบ 5 ธาตุแท้จริง หรือที่เรียกว่า เจี่ยโหงวเฮ้ง ซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากปรมาจารย์
|
|
5 ธาตุ
ในสมัยโบราณ ชาวจีนเชื่อว่า นอกจากจักรวาลที่เราอาศัยอยู่แล้ว ยังมีจักรวาลอื่นอีก 4 จักรวาลที่เชื่อมโยงกัน โดยรายล้อมอยู่โดยรอบทุกทิศทางทั้ง ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตก ทิศละ 1 จักรวาล
|
|
ความหมายของธาตุทั้ง 5
ธาตุทั้ง 5 จะมีความหมายเกี่ยวข้องกับ สี รสชาติ อวัยวะในร่างกาย ฯลฯ ในเบื้องต้นนี้จะแสดงความหมายของแต่ละธาตุที่จำเป็น
|
|
10 ราศีฟ้า (บน)
ราศีบน หรือ ราศีฟ้า เป็นตัวแทนของภาคฟ้า ซึ่งมีอยู่ทั้ง 5 ธาตุ และ ในแต่ละธาตุก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่ 2 ลักษณะ ตามหลักการของอิม-เอี้ยง เช่น มืด-สว่าง ดำ-ขาว อ่อน-แข็ง
|
|
12 ราศีดิน (ล่าง)
ราศีดิน หรือ ราศีล่าง เป็นตัวแทนภาคดิน ซึ่งมีอยู่ทั้ง 5 ธาตุ และ ในแต่ละธาตุยังถูกแบ่งออกตามแนวคิดของ 12 นักษัตร และ ตามหลักของฤดูกาล
|
|
ราศีแฝง
ราศีแฝง คือ ราศีฟ้าที่มีการแอบแฝงอยู่ในราศีดินทั้ง 12 ตัว จะเปรียบเสมือนตัวแทนของภาคมนุษย์ ใช้ประกอบการอ่าน และ พิจารณารูปดวง
|
|
การภาคีของราศีบน
ปฏิกิริยาการภาคีของราศีบน เรียกกันว่า “โหงวฮะ” จะมีทั้งหมด 5 คู่
|
|
การปะทะของราศีบน
การปะทะ หรือ การพิฆาต ของราศีบน ทั่วไปจะเรียกว่า “คัก” รูปแบบในการปะทะจะมีทั้งหมด 10 คู่
|
|
การภาคีของราศีล่าง
ปฏิกิริยาการภาคีของราศีล่าง เรียกกันว่า “ลักฮะ” จะมีทั้งหมด 6 คู่
|
|
ไตรภาคี
ปฏิกิริยาการภาคีสามที่มีพลังสูงขึ้นอีกระดับนึง เรียกกันว่า “ไตรภาคี” จะประกอบด้วย 4 กลุ่มใหญ่ๆ
|
|
ไตรทิศ/ไตรฤดู (ซาหวย)
ปฏิกิริยาการภาคีสามที่มีพลังงานสูงที่สุดยิ่งกว่าการภาคีใดๆ เรียกกันว่า “ไตรทิศ/ไตรฤดู” หรือ “ซาหวย” จะประกอบไปด้วยธาตุสามตัวที่เป็นฤดูเดียวกัน
|
|
การปะทะ (ชง) ของราศีล่าง
“การปะทะ” หรือ “ชง” เป็นปฎิกิริยาที่คนส่วนใหญ่รู้จัก แม้ว่าจะไม่ได้เรียนดวงจีนก็ตาม รูปแบบในการปะทะจะมีทั้งหมด 6 คู่
|
|