อังคาร, 07 มกราคม 2025
Home นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


ภาพนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ Sages Academy ห้ามมิให้ผู้ใด นำไปทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือ เผยแพร่ โดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Sages Academy ผู้ละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย






ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 4.1



คราวที่แล้ว ได้อธิบายยกตัวอย่างไปแล้ว 3 ตัวอย่าง คราวนี้จะขอยกตัวอย่างอีกสัก 8 ตัวอย่าง ให้จบในรวดเดียว (รวมเป็น 11 ตัวอย่าง) ส่วนครั้งหน้าค่อยอธิบายเรื่อง วิธีการพิจารณารูปฤกษ์ให้เข้ากับบุคคล และ สถานที่ พร้อมทั้งชี้จุดบอด ข้อบกพร่อง ขาดรายละเอียดตามหลักวิชาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ของสำนักซำง้วน จะด้วยว่า วิชาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ดังที่อธิบายมานี้ เป็นสายพันธุ์ใหม่ หรืออย่างไรไม่ทราบ จึงมีความผิดพลาด คลาดเคลื่อน ขาดซึ่งรายละเอียดของการนำไปใช้งานได้จริง ทำให้คำโฆษณาของสถาบันและชมรมที่เปิดสอน ไม่เป็นไปอย่างที่อวดอ้าง แต่สำหรับตอนนี้ มาดูการคัดเลือกฤกษ์ยาม 64 ข่วย ตามแบบที่เขาสอน


ตัวอย่างที่ 4


วันที่ 3 กรกฎาคม 2551 เวลา 09.40 น. นำเอา ปี เดือน วัน เวลา ที่เราต้องการพิจารณานั้น ไปกรอกในโปรแกรมตั้งดวงจีน จะได้ผลลัพธ์ดังนี้

เวลา
วัน
เดือน
ปี
กี้จี๋
กะซิ้ง
โบ่วโง่ว
โบ่วจื้อ

เมื่อได้ผลลัพธ์จากการตั้งโปรแกรมแล้ว จึงนำเอา หลักปี หลักเดือน หลักวัน และ หลักเวลา ที่ได้จากการตั้งโปรแกรมไปเทียบตาราง 60 กะจื้อ เทียบข่วย ซึ่งแสดงในบทความ "ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 3.1" ดังต่อไปนี้

เวลา
วัน
เดือน
ปี


เมื่อได้รูปฤกษ์ที่แปลงเป็นข่วยแล้ว ต้องนำมาพิจารณาว่า รูปฤกษ์ดังกล่าว เข้าตามกฏของรูปฤกษ์ยามวิชา 64 ข่วย ทั้ง 2 แบบหรือไม่ กฏของการพิจารณาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ได้เขียนอธิบายไว้แล้วในบทความ "ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 2.2, 2.3" ดังนี้



1. ความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน



  • รูปฤกษ์หลักปี หลักเดือน หลักยาม (เวลา) ต้องสัมพันธ์ส่งมาให้ "หลักวัน"
  • ในรูปฤกษ์ต้องภาคี 5/10/15 กับหลักวัน
  • ภาคีเกิดสำเร็จ/ฮะแซเซ้ง กับหลักวัน
  • ต้องเหมือนกับหลักวัน
  • ต้องมาพิฆาตเข้าหลักวัน หรือ ก่อเกิดเข้าหลักวัน ซึ่งขออธิบายเพิ่มเติมสำหรับการพิฆาตเข้า และ การก่อเกิดเข้าของหลักวัน ดังต่อไปนี้


หลักวัน
ธาตุ
ก่อเกิดเข้าหลักวัน
พิฆาตเข้าหลักวัน
1
น้ำ
4 [ธาตุทอง] - 9 [ธาตุทอง]
-
6
น้ำ
4 [ธาตุทอง] - 9 [ธาตุทอง]
-
4
ทอง
-
2 [ธาตุไฟ] - 7 [ธาตุไฟ]
9
ทอง
-
2 [ธาตุไฟ] - 7 [ธาตุไฟ]
3
ไม้
1 [ธาตุน้ำ] - 6 [ธาตุน้ำ]
4 [ธาตุทอง] - 9 [ธาตุทอง]
8
ไม้
1 [ธาตุน้ำ] - 6 [ธาตุน้ำ]
4 [ธาตุทอง] - 9 [ธาตุทอง]
2
ไฟ
3 [ธาตุไม้] - 8 [ธาตุไม้]
1 [ธาตุน้ำ] - 6 [ธาตุน้ำ]
7
ไฟ
3 [ธาตุไม้] - 8 [ธาตุไม้]
1 [ธาตุน้ำ] - 6 [ธาตุน้ำ]


จากรูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 4 เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน หลักวัน คือ 3



ฉะนั้น ในรูปฤกษ์นี้ เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องได้ตามกฏ คือ ต้องสัมพันธ์ส่งมาให้ "หลักวัน"

[1] กฏฮะจั๊บ (ภาคี 10)
เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 3 กับ เลข 7
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักปี เป็นเลข 7 หลักเดือน เป็นเลข 3

[2] กฏฮะโหงว (ภาคี 5)
เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2 กับ เลข 3
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักเดือน เป็นเลข 3

[3] กฏฮะจั๊บโหงว (ภาคี 15)
ไม่ต้องพิจารณา เพราะหลักวันของรูปฤกษ์ ไม่สามารถภาคี 15 ได้ [ภาคี 15 เกิดจากการรวมตัวของ เลข 6 กับ เลข 9 หรือ เลข 7 กับ เลข 8]

[4] กฏแซเซ้ง (เกิดสำเร็จ)
เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 3 กับ เลข 8
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักเดือน เป็นเลข 3 หลักเวลา เป็นเลข 8

[5] กฏพลังขี่ใสสะอาด (เหมือนกัน)
เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 3
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักเดือน เป็นเลข 3

[6] กฏของธาตุพิฆาตเข้าหลักวัน หรือ ก่อเกิดเข้าหลักวัน
...ในรูปฤกษ์ตามตัวอย่าง หลักวันเป็น 3 คือ ธาตุไม้ ธาตุก่อเกิดเข้าไม่มี แต่มีธาตุพวกเดียวกัน คือ เลข 3 ในหลักเดือน และ เลข 8 ในหลักยาม ซึ่งเป็นธาตุไม้ ส่วนธาตุพิฆาตเข้าหลักวันไม่มี เราจะพบว่า ในหลักปีเป็นเลข 7 ซึ่งเป็นธาตุไฟ เท่ากับว่า หลักวัน 3 ซึ่งเป็นธาตุไม้ ไปก่อเกิดออกให้กับหลักปี ดังนั้น องค์ประกอบของฤกษ์ยังไม่เข้าตามกฏ
 
ข้อสรุป ในอีกมุมหนึ่งจะพบว่า รูปฤกษ์ดังกล่าวนี้ คล้ายจะมีการภาคีเกิดสำเร็จ (ฮะแซเซ้งกัน) แต่มีการผสมกันกับฮะจั๊บ (ภาคี 10) แต่ตามหลักทฤษฎีของวิชาฤกษ์ 64 ข่วย ที่มีการสอนกันทั่วโลก และ ในประเทศไทยนั้น เขาสอนกันว่า การฮะแซเซ้งที่ถูกต้องสะอาด และ บริสุทธิ์ ต้องไม่มีภาคี 5/10/15 เข้ามาผสม ฉะนั้น รูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 4 ไม่เข้าตามกฏการหาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ตามกฏความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน
 
 
ต่อไป พิจารณารูปฤกษ์ตามหลักการที่ 2 คือ

2. ความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง
 

จากรูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 4 เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง หลักวัน คือ 2
 
 
ฉะนั้น ในรูปฤกษ์นี้ เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องได้ตามกฏ คือ ต้องสัมพันธ์ส่งมาให้ "หลักวัน"
  • รูปฤกษ์หลักปี หลักเดือน หลักยาม (เวลา) ต้องสัมพันธ์ส่งมาให้ "หลักวัน"
  • ในรูปฤกษ์ต้องภาคี 5/10/15 กับหลักวัน
  • ภาคีเกิดสำเร็จ/ฮะแซเซ้ง กับหลักวัน
  • ต้องเหมือนกับหลักวัน
  • ต้องเข้าตามกฏของภาคียุคอุ่งเชียงธง คือ 1/3  2/4  6/8  7/9

[1] กฏฮะจั๊บ (ภาคี 10)
เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2 กับ เลข 8
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักเวลา เป็นเลข 2

[2] กฏฮะโหงว (ภาคี 5)
เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2 กับ เลข 3
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักเวลา เป็นเลข 2

[3] กฏฮะจั๊บโหงว (ภาคี 15)
ไม่ต้องพิจารณา เพราะหลักวันของรูปฤกษ์ ไม่สามารถภาคี 15 ได้ [ภาคี 15 เกิดจากการรวมตัวของ เลข 6 กับ เลข 9 หรือ เลข 7 กับ เลข 8]

[4] กฏแซเซ้ง (เกิดสำเร็จ)
เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2 กับ เลข 7
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักเวลา เป็นเลข 2

[5] กฏพลังยุคใสสะอาด (เหมือนกัน)
เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักเวลา เป็นเลข 2

[6] กฏภาคีอุ่งเชียงธง
เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2 กับ เลข 4
...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักปี เป็นเลข 4 หลักเดือน เป็นเลข 4 และ หลักเวลา เป็นเลข 2


ข้อสรุป จากรูปฤกษ์ดังกล่าวตามตัวอย่าง จะพบว่า เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของหลักวัน คือ 2 เลขกำกับยุคของหลักปี เป็น 4 หลักเดือน เป็น 4 และ หลักเวลา เป็น 2 เข้าตามกฏภาคีอุ่งเชียงธง นอกจากนี้ ตามกฏของรูปฤกษ์ในวิชาฮวงจุ้ยระบบ 5 ธาตุ ถือว่าฤกษ์ดังกล่าวชงกันในหลักปี [] และ หลักเดือน [] ฉะนั้น ในระบบวิชาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ที่มีการสอนทั่วโลก และในประเทศไทย หากพบว่า มีการชงกันในรูปฤกษ์ (ตารางแสดงการชง แสดงในบทความ "ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 3.2") จะมีหลักการพิจารณาข่วยครอบครัวสายเลือดเดียวกัน ดังได้อธิบายมาแล้ว ในบทความ "ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 2.1" และ ได้ทำตารางสรุปเรื่องหลักการพิจารณาข่วยครอบครัวสายเลือดเดียวกัน ในบทความ "ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 3.2" จึงต้องมีการนำเอาหลักการ สุ่งจื้อเก็ก และ เง็กจื้อเก็ก มาพิจารณา



จากหลักการสุ่งจื้อเก็ก และ เง็กจื้อเก็ก เมื่อแปลงรูปฤกษ์ดังกล่าวเป็นข่วยแล้ว หลักที่ชง (ปะทะ) กันนั้น อยู่ในครอบครัวข่วยสายเลือดเดียวกันหรือไม่? หากอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ถือว่ารูปฤกษ์ดังกล่าวใช้ได้ แต่ถ้าอยู่คนละครอบครัวถือว่า มีการปะทะกันรูปฤกษ์ ไม่ควรใช้ฤกษ์นั้น ซึ่งข่วย 3-4 ข่วย 7-4 อยู่ในสมาชิกของครอบครัวข่วยสายเลือดเดียวกัน คือ กลุ่มเง็กจื้อเก็ก ฉะนั้น รูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 4 สามารถใช้ได้



หมายเหตุ Sages เผยแพร่บทความนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 เวลา 17.00 น. สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติปี 2537 ห้ามมิให้นำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความดังกล่าว ไปดัดแปลง แก้ไข หรือ ทำซ้ำ เพื่อนำไปใช้สอน หรือ เผยแพร่ ในทางพาณิชย์ โดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Sages Academy และ มีตราประทับเท่านั้น



อ่านบทความคุยกับซินแสทั้งหมด >>> คลิ๊กที่นี่

 

บทความยอดนิยม Popular Articles

บทความล่าสุด Latest Articles

เรื่องน่าสนใจ Sages Recommend



กรณีที่ท่านมีปัญหาในการเข้าชมเว็บนี้ อันเนื่องมาจากเวอร์ชั่นของ Internet Explorer (IE) ของท่านเป็นเวอร์ชั่น 6 หรือต่ำกว่า ดังนั้นเพื่อให้เข้าชมเว็บให้ได้อย่างมีอรรถรส กรุณาอัพเดทเวอร์ชั่นของ Internet Explorer (IE) เป็นเวอร์ชั่น 7 ก่อน สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

หรือทำการติดตั้ง Firefox สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

 

Your are currently browsing this site with Internet Explorer 6 (IE6).

Your current web browser must be updated to version 7 of Internet Explorer (IE7) to take advantage of all of template's capabilities. Download IE7